การเช็ค เงื่อนไข


           ในการเขียนโปรแกรม อาจจะมีเงือนไขหรือข้อกำหนดบางอย่างที่คุณต้องการให้โปรแกรมทำงานแตกต่างกันไป การตัดสินใจจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นทั้งในการเขียนโปรแกรมและในชีวิตประจำวัน
- if
- if...else
- if...elseif
- switch...case

IF

หลักการเขียน เงื่อนไข if

<?php
           if (เงื่นไข) {
                     // คำสั่งการทำงาน
                     }
?>

           คำสั่ง If เป็นคำสั่งควบคุมที่พื้นฐานที่สุดในการเขียนโปรแกรม มันใช้สำหรับควบคุมการทำงานในกรณีที่เงื่อนไขเป็นจริง นี่เป็นรูปแบบการใช้งานของคำสั่ง If ในภาษา PHP การตรวจสอบเงือนไขของคำสั่ง If นั้น เกิดจากการประเมิน expression ถ้าหากเป็นจริงโปรแกรมจะทำงานในบล็อคของคำสั่ง If ถ้าหากไม่เป็นจริงโปรแกรมจะข้ามการทำงานไป

ตัวอย่าง Arithmetic Operators


<?php 
    $number = 5;
    if($number == 5){
        echo "๕";
    }

if...else

หลักการเขียน if...else

ตัวอย่าง if...else


<?php 
        $i = 1; 
        if($i <= 4) { 
            $text = "จำนวนน้อยกว่า 5";
        }else{
            $text = "จำนวนมากกว่า 4";
        }
        echo $text;
?>
<?php
           if (เงื่อนไข) {
                     // คำสั่งการทำงาน
           }else{
                     // คำสั่งการทำงาน
           }
?>

                      คำสั่ง if...else ใช้สำหรับตรวจสอบเงื่อนไขเช่นเดียวกับคำสั่ง If แต่ในการทำงานจะมีการเพิ่มบล็อคของคำสั่ง else เข้ามาถ้าหากเงือนไขในคำสั่ง If ไม่เป็นจริง
if...else if

หลักการเขียน if...else if

<?php
           if(เงื่อนไข){
                     // คำสั่งการทำงาน
           }else if(เงื่อนไข){
                     // คำสั่งการทำงาน
           }else{
                     // คำสั่งการทำงาน
           }
?>

                      ในคำสั่ง If-Else เป็นคำสั่งในการสร้างเงือนไขแบบสองทางเลือกหรือจริงและไม่จริงเท่านั้น ในภาษา PHP คุณสามารถสร้างเงือนไขแบบหลายทางเลือกได้โดยการใช้คำสั่ง Else-If สำหรับเงือนไขเพิ่มเติมที่ต้องการ

ตัวอย่าง if...elseif


<?php
$test = "chaitawat";
    if($test == "chaitawat"){
        $text = "ชื่อ : ".$test;
    }else if($test == "loongyod"){
        $text = "นามสกุล : ".$test;
   
    }else{
        $text = "ข้อมูลผิดพลาด";
    }
    echo $text;
?>
                                
switch case

หลักการเขียน switch case

ตัวอย่าง switch case


$abb = "th"; 
switch ($abb) {
case "de": $country = "Germany"; break; case "th": $country = "Thailand"; break; case "hu": $country = "Hungary"; break; case "tr": $country = "Turkey"; break; default: $country = "Unknown country"; break; } echo "Your country is ".$country;
?>
<?php
           $ตัวแปร = กำหนดค่า;
           switch ($ตัวแปร) {
                     case "เงื่อนไข":
                               $text = กำหนดตัวแปร;
                               break;
                     case "เงื่อนไข":
                               $text = กำหนดตัวแปร;
                               break;
                     default:
                               $text = กำหนดตัวแปร;
                               break;
                     }
?>

                      ในภาษา PHP ยังมีคำสั่งเลือกเงือนไขอีกคำสั่งหนึ่งคือคำสั่ง Switch ซึ่งการทำงานของคำสั่งนี้จะคล้ายกับคำสั่ง If Else-If ซึ่งเป็นการเลือกแบบหลายทางเลือก แต่ในคำสั่ง Switch จะใช้สำหรับเปรียบเทียบกับค่าคงที่โดยตรงที่ไม่ใช่ Expression
แบบทดสอบ

Test


1
- สร้างตัวแปรแก็บค่า คะแนน
- เช็คคะแนนถ้าเกิน 49 ให้แสดงข้อความ " สอบผ่าน!!! "

2
- สร้างตัวแปรแก็บค่า คะแนน
- เช็คคะแนนถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 50 ให้แสดงข้อความ " สอบผ่าน!!! "
- ถ้าไม่ถึง 50 ให้แสดงข้อความ " สอบไม่ผ่าน!!! "

3
- สร้างตัวแปรแก็บค่า คะแนน
- เช็คคะแนนถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 80 ให้แสดงข้อความ " เกรด 4 "
- เช็คคะแนนถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 70 ให้แสดงข้อความ " เกรด 3 "
- เช็คคะแนนถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 60 ให้แสดงข้อความ " เกรด 2 "
- เช็คคะแนนถ้ามากกว่าหรือเท่ากับ 50 ให้แสดงข้อความ " เกรด 1 "
- else " เกรด 0 "


4
- สร้างตัวแปรแก็บค่า อักษรย่อของจังหวัด 10 จังหวัด
- ใช้ switch case เช็คตัวย่อเพื่อเก็บชื่อจังหวัดออกมาแสดง